วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
sbobetJoz จำได้ว่าในสมัยที่เราเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งในสมัยเฟรชชี่เนี่ย มีคำถาม 1 คำถามที่อาจารย์ถามเราว่า “รู้จักพระอจนะพูดได้กันหรือเปล่า? รู้มั้ยว่าเป็นยังไง” เราก็งงสิพระพูดได้ คือถ้าเป็นพระสงฆ์เราก็เข้าใจ แต่นี่อาจารย์ท่านหมายถึงพระพุทธรูป แล้วพระพุทธรูปพูดได้ มีด้วยหรอ ที่ไหนกัน หลังจากทั้งห้องเงียบกริปไป ท่านก็บอกเรามาว่า “ไม่รู้จักกันใช่มั้ยล่ะ งั้นไปหาข้อมูลเขียนรายงานมาส่ง 1 หน้ากระดาษ A4” น่าน!! งานเข้าเลยทีเดียว แต่เราก็คิดว่าในเมื่อเราไม่รู้จักเราก็ควรจะไปหาความรู้เพิ่มเติมเอาไม่ใช่ให้อาจารย์ท่านคอยบอกเพียงอย่างเดียว และด้วยความที่เราก็เป็นคนขี้สงสัยมากเสียด้วย หลังจากเลิกเรียนก็ตรงกลับหอและเปิดหาข้อมูลกันทันที และความทรงจำในอดีตนี้เองค่ะที่มันทำให้เราอยากจะไปเที่ยวสถานที่ดังกล่าวกัน และวันนี้เราจะไปสัมผัสกับความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ว่าศาสตร์ใดก็ไม่สามารถตอบคำถามได้กันค่ะ ไม่ใกล้ไม่ไกล จังหวัดสุโขทัยนี่เองค่ะ
เข้าเรื่องของเราอย่างไม่ต้องพูดพล่ำทำเพลงเลยแล้วกันนะคะ
จุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย “วัดศรีชุม” หรือ “วัดปอยดำ” เป็นโบราณสถานที่อยู่ในเขตของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เช่นเดียวกับ วัดพระศรีมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ค่ะ และที่เราจะพาเพื่อนๆไปให้เห็นกับตาในสิ่งที่เราเล่าไปแล้วก็คือ “พระอจนะ”พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในมณฑป
และอีกหนึ่งสาเหตุของความศักดิ์สิทธิ์เราจะพากลับไปในสมัยอยุธยา
เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ ในปีพุทธศักราช 2127 ณ เมืองแครง ทำให้หัวเมืองต่างๆยกเลิกการส่งส่วยให้กับพม่า
แต่ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งที่ยังคงภักดีส่งส่วยให้กับพม่าไม่ขาด
นั่นก็คือเมืองเชลียง หรือเมืองสววรคโลกนั่นเองค่ะ
และด้วยเหตุที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการนี้เอง ทำให้พระนเรศวรมหาราชต้องนำทัพเสด็จไปปราบ
แต่ก่อนหน้านั้นได้มีการมาชุมนุมที่วัดศรีชุมก่อนที่จะไปตีเมืองเชลียง
การรบในครั้งนี้เป็นการรบระหว่างคนไทยเราด้วยกัน
ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบและไม่อยากรบ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงได้มีการวางแผนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทหารเหล่านั้น โดยการให้ทหารนายหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังขององค์พระพุทธรูปและพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร
และด้วยเหตุนี้เองค่ะที่ทำให้เกิดตำนาน “พระพูดได้” และณ วัดศรีชุมแห่งนี้ยังได้มีการจัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกด้วยค่ะ เราจะกลับมาพูดถึงในส่วนความหมายของพระอจนะกันค่ะ คำว่า “อจนะ”
มีความหมายในภาษาบาลี “อจละ” แปลว่า ผู้ไม่หวั่นไหว หรือ
ผู้ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้ และถ้าท่านใดที่ได้ไปเที่ยว ณ
วัดศรีชุมแห่งนี้แล้วก็อย่าลืมไปกราบไหว้ของพรท่านกันนะคะ
ด้วยความที่วัดแห่งนี้สร้างมาตั้งแต่ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
โดยปรากฎหลักฐานในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า“เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี่…รากผัก…มีพระอจนะ
มีปราสาท” จากประโยคนี้อะไรก็ไม่ทำให้เรางงเลยนอกจากคำว่า“รากผัก” จริงๆแล้ว “วัดศรีชุม” ซึ่งก็มีการเรียกว่า “ห้าเบี้ย” มาจากคำเรียกพื้นเมืองเดิมของไทยว่า “รากผัก” มีความหมายว่า ต้นโพธิ์ ดังนั้นแล้วชื่อ “ศรีชุม” จึงหมายถึงดงของต้นโพธิ์
แต่เมื่อล่วงเข้าสมัยอยุธยาตอนปลายมีการเข้าใจความหมายที่ผิดไป
ทำให้มีการระบุถึงในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในทำนองว่า
ที่มาของชื่อวัดศรีชุมมาจาก “ฤาษีชุม”นั่นเองค่ะ ด้วยความที่เป็นวัดเก่าทำให้ต้องมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยของพระเจ้าลิไทยและได้รับการดูแลบูรณะเรื่อยมา
ครั้งล่าสุดก็คือในปีพุทธศักราช 2495 สมัยรัชกาลที่ 9
โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีและอาจารเขียน ยิ้มสิริค่ะ
ในส่วนของพระมณฑปนั้นกว้างด้านละ 32 เมตร สูง 15 เมตร ผนังหนาถึง 3
เมตร ทางผนังด้านซ้ายมีการเจาะทำเป็นบันไดในตัวผนังไปจนถึงหลังคา
ตามฝาผนังตามช่องอุโมงค์ที่เจาะดังกล่าวนี้มีภาพเขียนเก่าและแต่ละภาพก็เลอะเลือนไปเกือบหมดแล้ว
สันนิษฐานว่าภาพเขียนนี้มีอายุเกือบๆ 700 ปีเลยทีเดียวค่ะ
เพดานของผนังนั้นมีแผ่นหินชนวนที่สลักภาพลายเส้นเป็นเรื่องในชาดกต่างๆ จำนวน 50
ภาพ เรียงต่อเนื่องกันเป็นเรื่องราว
และภาพเขียนเหล่านี้เองค่ะที่ถือได้ว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังไทยที่เก่าแก่ที่สุด
หากท่านใดสนใจจะไปเที่ยวก็ไม่ควรพลาดวัดศรีชุมแห่งนี้
เพราะ นอกจากเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ศรัทธาแล้ว
ไม่ต้องไปพูดถึงความงดงามเลยด้วยค่ะ ก็จัดว่าเป็นวัดที่สามารถดึงความเชื่อ
ความศรัทธาของเราไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย และถ้าหากไปสุโขทัยแล้วไม่ไปวัดแห่งนี้
ถือว่าไปไม่ถึงเลยทีเดียวนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ท่องทั่วไทย.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น